ถาม-ตอบ

อยากทราบว่า ปัจจุบัน อยู่แผนการลงทุนใด อัตราสะสม อัตราสมทบอยู่ที่อัตราใด ยอดเงินในปัจจุบันเป็นเท่าไร สัดส่วนการลงทุนในปัจจุบันเป็นอย่างไร ดูได้ที่ไหนบ้าง

"ข้อมูลทั้งหมดเข้ามาดูได้จาก เว็บไซด์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในส่วนข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก นอกจากนี้ แผนการลงทุนและอัตราสะสม อัตราสมทบดูได้จากสลิปเงินเดือนของสมาชิก สำหรับยอดเงินจะมีการแจ้งในใบรายงานรายตัวสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นรายไตรมาส"

หากต้องการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ต้องดำเนินการอย่างไร

"สามารถเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนได้ด้วยตนเองในเว็บไซด์นายทะเบียน WWW.UOBAM.CO.TH"

หากต้องการเปลี่ยนแปลงอัตราสะสม ต้องดำเนินการอย่างไร

"สามารถเปลี่ยนอัตราสะสม ได้ด้วยตนเองในเว็บไซด์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในเมนูการเปลี่ยนแปลงอัตราสะสม เปลี่ยนได้ทุกวัน โดยหากเปลี่ยนภายในวันที่ 1-20 ของทุกเดือน และจะมีผลในเดือนถัดไป"

หากต้องการเปลี่ยนแปลงผู้รับผลประโยชน์ต้องดำเนินการอย่างไร

"ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงผู้รับผลประโยชน์สามารถมาติดต่อได้ที่กองจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฝ่ายการเงิน ชั้น 6 อาคารสำนักงานเพลินจิต พร้อมนำบัตรพนักงานมาแสดงตน"

หากต้องการลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องดำเนินการอย่างไร

"ผู้ที่ต้องการลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถมาติดต่อที่กองจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฝ่ายการเงิน ชั้น 6 อาคารสำนักงานเพลินจิต พร้อมนำบัตรพนักงานหรือบัตรประชาชนและสลิปเงินเดือน เพื่อมาคำนวณภาษี โดยสามารถลาออกได้ทุกวันที่ 1-10 ของทุกเดือนและจะมีผลการพ้นสภาพในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป และจะได้รับเงินภายใน 30 วันหลังจากวันพ้นสภาพ โดยผู้ที่ลาออกจะสามารถสมัครสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อีก 1 ครั้งและจะมาสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อลาออกไปแล้วอย่างน้อย 1 ปี "

ผลเสียจากการลาออกจากกองทุนฯ โดยไม่ลาออกจากการเป็นพนักงาน กฟน.มีผลกระทบอย่างไร

" 1.สมาชิกต้องเสียภาษีในส่วนเงินสมทบของนายจ้าง ผลประโยชน์ส่วนของนายจ้าง และผลประโยชน์ของเงินสะสมของสมาชิก 2. ไม่ได้เงินสบทบของนายจ้างในช่วงระหว่างที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนฯ 3.สมาชิกลาออกจากกองทุนฯ ได้ 1 ครั้ง และสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนได้อีก 1 ครั้ง โดยเว้นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีนับจากวันที่ลาออกจากกองทุนฯ 4. ไม่มีสิทธิ UNDO (การกลับเข้ามาใช้สิทธิกองทุนเงินบำเหน็จพนักงาน) หากภายหลัง กฟน. ให้สิทธิสมาชิกกองทุนฯ ที่เป็นพนักงานการไฟฟ้านครหลวงที่เข้างานก่อนวันที่ 1 พ.ย. 2558 (เรื่อง undo อยู่ระหว่างการเข้าเสนอคณะกรรมการ การไฟฟ้านครหลวง จำกัด) "

ทำไมสมาชิกจึงขอลาออก

"ส่วนใหญ่สมาชิกมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อปลดภาระหนี้สิน เช่น เงินกู้นอกระบบ เงินกู้บัตรเครดิต เงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้านครหลวง จำกัด เมื่อปลดภาระหนี้สินแล้วจึงมีรายได้จากเงินเดือนมาใช้จ่ายบ้าง"

หากต้องการสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกครั้งหนึ่งต้องดำเนินการอย่างไร

"ผู้ที่ต้องการสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถมาติดต่อที่กองจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฝ่ายการเงิน ชั้น 6 อาคารสำนักงานใหญ่เพลินจิต โดยสามารถสมัครได้ทุกวันที่ 1-10 ของทุกเดือนและจะมีผลในเดือนถัดไป " พร้อมเตรียมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาสมุดเงินฝากธนาคารมาด้วย

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มีการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดบ้าง

การบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มีการลงทุนในหลักทรัพย์ 3 ประเภท คือ ตราสารหนี้ ตราสารทุนในประเทศและตราสารทุนต่างประเทศ สำหรับการลงทุนประเภทตราสารหนี้ จะเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนต่ำที่สุด แต่จะมีความปลอดภัยสูง และโอกาสขาดทุนต่ำ ซึ่งต่างจากการลงทุนในตราสารทุนที่จะลงทุนใน หุ้นสามัญของบริษัทต่างๆ ที่มีผลการดำเนินงานที่ดี จึงทำให้มีโอกาสจะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าตราสารหนี้แต่จะแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงกว่า ซึ่งการลงทุนตราสารทุนต่างประเทศก็จะมีเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนมาเกี่ยวข้องจึงเหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้มาก ดังนั้นสมาชิกควรทำการศึกษาข้อดี ข้อเสีย รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆของการลงทุนแต่ละนโยบายก่อนตัดสินใจเลือกสัดส่วนการลงทุน

การบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มีการดำเนินการอย่างไรบ้าง

มีการคัดลือกบริษัทจัดการเพื่อบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ โดยปัจจุบันมี 2 บริษัทจัดการที่มาบริหาร คือ บลจ.ยูโอบี และ บลจ.กรุงไทย ภายใต้การควบคุมและติดตามการลงทุนของคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ ประกอบด้วยกรรมการจากการแต่งตั้ง และเลือกตั้ง มีการจัดประชุมร่วมกับบริษัทจัดการเพื่อควบคุมและติดตามการลงทุนทุกเดือน

ต้องวางแผนลงทุนอย่างไรให้ได้เงินเพิ่มขึ้น

สมาชิกสามารถเพิ่มการจ่ายเงินสะสมในอัตราสูงสุดได้ 15% ของค่าจ้าง สำหรับสมาชิกที่สามารถยอมรับความเสี่ยง ในความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้มาก สามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในนโยบายตราสารทุนทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาว

ควรเลือกสัดส่วนการลงทุนอย่างไร

การเลือกสัดส่วนการลงทุนขึ้นกับสมาชิก เนื่องจากการรับความเสี่ยงของสมาชิกแต่ละคนรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน หากต้องการผลตอบแทนสูงก็ต้องรับความเสี่ยงมากขึ้นด้วย สำหรับสมาชิกที่อายุงานคงเหลือมากกว่า 10 ปี อาจจะเพิ่มการลงทุนในนโยบายตราสารทุนทั้งในหรือต่างประเทศ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนระยะยาวได้มากขึ้น ในทางกลับกันหาก อายุงานคงเหลือต่ำกว่า 10 ปี อาจลดสัดส่วนของความเสี่ยงลงโดยเพิ่มการลงทุนในนโยบายตราสารหนี้มให้มากขึ้นเพื่อรักษาเงินต้นไว้ก่อนที่จะเกษียณอายุ

สามารถติดตามอัตราผลตอบแทนแต่ละนโยบายได้จากทางใด

สมาชิกสามารถติดตามอัตราผลตอบแทนได้จากทาง PVDFUND ในเมนูข้อมูลการลงทุนของกองทุน สามารถติดตามข้อมูลที่สำคัญ trade date ล่าสุด ภาพรวมผลตอบแทนย้อนหลัง อัตราผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี อัตราผลตอบแทนตามช่วงเวลาที่ต้องการ หรือ ติดตามอัตราผลตอบแทนได้ผ่าน Website ของนายทะเบียน (https://echannel.uobam.co.th/pvd/th/acc/login) และเข้าสู่ระบบจากเอกสารที่ บลจ. เคยส่งให้ (หากไม่ทราบสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามรายละเอียด)

อยากรู้ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ ลงทุนอะไรบ้าง

สมาชิกสามารถติดตามข้อมูลการลงทุนได้จากทาง PVDFUND ในเมนูรายงานมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งทางกองทุนอับเดตข้อมูลรายเดือนโดยมีข้อมูลรายละเอียดตามแต่ละนโยบายการลงทุน เช่น สัดส่วนการลงทุนของแต่ละประเภทหลักทรัพย์ ผลการดำเนินงาน และทางกองทุนจะมีจัดประชุมให้สมาชิกเข้าร่วมเพื่อรายงานติดตามผลการดำเนินงานรายไตรมาส

สามารถติดตามข่าวสารการลงทุนได้จากทางใด

สมาชิกสามารถติดตามข้อมูลการลงทุนได้จากทาง PVDFUND ในเมนูสรุปภาวะเศรษฐกิจและกลยุทธ์ โดยจะเป็นการสรุปข้อมูลภาวะเศรษฐกิจประจำเดือนจากบลจ. นอกจากนี้ยังสามารถติดตามรายละเอียดการลงทุนได้จาก Website นายทะเบียน

ไม่สามารถล็อกอินเข้าระบบ

"กรณีผู้ใช้ไม่สามารถล็อกอินเข้าระบบทั้งในส่วนของ Website 1. ให้ตรวจสอบ username และ password ในการล็อกอิน ว่าถูกต้องหรือไม่ 2.ตรวจสอบว่า password ที่ใช้งานหมดอายุหรือไม่ หมายเหตุ:กรณีที่ระบุข้อมูลถูกต้อง แต่ยังไม่สามารถล็อกอินเข้าระบบ ให้ติดต่อผู้ดูแลระบบ admin@mea.or.th"

ไม่สามารถใช้งานกับ Browser Opera

"ระบบกองทุนฯสำรองเลี้ยงชีพ อาจจะไม่ compatible กับบาง Browser ขอแนะนำให้ใช้งานกับ Browser Internet Explorer ตั้งแต่ version 9.0 ขึ้นไป หรือ Fire Fox หรือ Chrome"

ยังไม่พบคำตอบที่ตามหา?

ส่งคำถามมาหาเรา แล้วเราจะตอบกลับไปภายในไม่กี่วันทำการ หรือ >>ติดต่อเรา<<

คำถาม
อีเมลล์รับคำตอบ
CAPTCHA
เปลี่ยนภาพ